วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คำศัพท์เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (สัปดาห์ที่ 10)

1. Hub
เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่เป็นศูนย์กลางของการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบ LAN ที่ต่อแบบ Star ซึ่งฮับในปัจจุบันมีหลายขนาด เช่น 5 พอร์ท, 8 พอร์ท, 16 พอร์ท, 24 พอร์ท, 32 พอร์ท, 48 พอร์ท มีความเร็วเริ่มต้นที่ 10 Mbps ซึ่งฮับจะทำงานอยู่ในชั้น Physical Layer

2. Bridge
เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่อยู่บนสองลำดับล่างบนแบบจำลอง OSI คือ ชั้น Physical  และ Data link ซึ่งทำหน้าที่เหมือนสะพานเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลเดียวกัน เช่น ระหว่างเทอร์เน็ตแลนด้วยกัน  หรือต่างโปรโตคอลก็ได้ เช่นระหว่างอีเทอร์เน็ตกับโทเค็นริง

3. Switch Layer 3
เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ชั้นเดียวกับ Router  คือชั้น Network Layer สามารถทำงานเป็นเราเตอร์ในตัวได้ นิยมใช้สำหรับเชื่อมโยงเครือข่าย  LAN ภายในองค์กรกับอินเตอร์เน็ต หรือใช้เชื่อมต่อหน่วยงานกลาง(สำนักงานใหญ่) กับหน่วยงานทีเป็นสาขาย่อย

4. IDS (Intrusion Detection System)
เป็นระบบตรวจจับการบุกรุกเปรียบเสมือนสัญญาณเตือนภัยหรือสัญญาณกันขโมย  คอยตรวจตราบุคคลที่เข้าในระบบเครือข่าย  โดยระบบจะเตือนผู้ดูแลระบบให้ได้รับรู้เมื่อมีผู้บุกรุกเข้ามาในระบบ

5. UTP : Unshielded Twisted Pair
เป็นสายสัญญาณที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน  เป็นสายขนาดเล็กไม่มีชิลด์ห่อหุ้ม  มีเส้นตีเกลียวเป็นคู่ ๆ เพื่อลดสัญญาณรบกวน  ในการเชื่อมต่อใช้หัวต่อแบบ RJ45 สามารถต่อสายได้ยาวสูงสุด 100 เมตร

6. Adhoc Mode
เป็นการเชื่อมต่อระหว่างการ์ด Wireless LAN ด้วยกัน โดยไม่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Access Point  หรืออาจจะเรียกว่าเชื่อมแบบ Peer –to Peer ก็ได้

7. Infrastructure Mode
เป็นการเชื่อมต่อเครือข่าย Wireless LAN ร่วมกันผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Access point

8. Web Server
หมายถึง เครื่องแม่ข่ายที่ทำหน้าที่ให้บริการเว็บ หรือทำหน้าที่เก็บเว็บไซท์

9. Mail Server
หมายถึง เครื่องแม่ข่ายที่ทำหน้าที่ให้บริการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

10. Proxy Server (Cache)
หมายถึง เครื่องแม่ข่ายที่ทำหน้าที่เก็บคอนเทนท์ต่าง ๆ ช่วยลดการใช้แบนด์วิดช์ภายนอก

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การวางระบบเครือข่าย ร้าน INTERNET

การวางระบบเครือข่าย ร้าน INTERNET




การวางระบบเครือข่ายโดยเป็นร้าน internet ขนาดกลางใช้คอมพิวเตอร์ 30 เครื่องโดยใช้ 2 เครื่อข่ายคือ

3BB Broadband      30 GB  เป็นเครื่อข่ายหลัก

True                                  10 GB  เป็นเครือข่ายรอง

โดยใช้ Roruter ของทั้ง 2 เครื่อข่ายมาต่อตรงกับของทางร้านโดยใช้ Roruter ตัวเดียวโดยใช้ทั้ง 2 เครื่อข่าย

- ใช้ HUB 2 ตัว  ตัวละ 16  พอร์ต    พอร์ตละ 15  เครื่อง

- มีเครืองแม่ข่ายเป็นตัวควบคุมควมพิวเตอร์ภายในร้านทั้งหมด

- ระบบ เน็ตเวริค์ แนะนำให้เป็น สาย Cat 6

- ใช้สาย LAN UTP  ทั้งหมดภายในร้าน

- ระบบไฟ แนะนำให้เป็นระบบไฟ 3 เฟส ช่วยประหยัดไฟได้เยอะ


การออกแบบเครือข่ายขนาดเล็กด้วย IP Sharing




IP Sharing เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเเชร์อินเทอร์เน็ต นิยมใช้ในร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ หรือ บริษัทขนาดเล็ก โดยส่วนมากอุปกรณ์ IP Sharing จะต้องเชื่อมต่อเข้ากับโมเด็ม เพื่อหมุนออกอีกทีหนึ่ง ส่วนของข้อดีของ IP Share คือ ไม่ต้องเปลืองเครื่องคอมพิวเตอร์ในการเเชร์ ปัจจุบัน IP Sharing สามารถใช้งานอยู่ทั่วไป เเละในอนาคตจะถูกเเทนที่ด้วย ADSL Modem



NAT ย่อมาจาก Network Address Translation เป็นวิธีการเปลี่ยนแปลงไอพีจริงมาเป็นไอพีปลอม หรือเปลี่ยนจากไอพีปลอมวงหนึ่งไปเป็นไอพีปลอมอีกวงหนึ่งโดยในการทำ NAT นั้น เราติดตั้งระบบ Windows Server 2000/2003(Routing and Remote Access)หรือ (Linux Server(IPABLES)แล้วเปิดบริการ NATส่วนมีการติดตั้ง LAN CARD สองใบ โดยใบแรกต่ออยู่กับ ADSL(ขานอก-eth0) ส่วนใบที่สองต่อเข้ากับ Hub/Switch (ขาใน-eth1)เพื่อจ่ายไอพีให้เครื่องลูกเครื่องอื่นๆ วิธีนี้จะเป็นไอพีเครือข่ายAntiVirus หรือ Firewall ป้องกันอันตรายต่างๆ ก่อนเข้าสู่เครื่องลูกข่ายได้ จะว่าไปแล้ว ก็เป็นการลงทุน ที่ไม่มีมากมายอะไร เพราะเครื่องซีพีในปัจจุบันราคาถูกลงมาก


การเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดกลางด้วย ADSL Router 

ระบบเครือข่ายขนาดกลาง =  ระบบเครือข่ายที่มีจำนวนลูกข่ายที่มากขึ้นเเละต้องหาความง่ายในการควบคุมดูเเล เเละเครือข่ายขนาดกลางเริ่มมีการติดตั้ง เครื่องเซิฟเวอร์ที่ใช้ งานเองภายในองกรณ์ เช่น web sever, mail sever, proxy sever ตัวอย่างงานระดับนี้ก็เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล




ในการเชื่อมต่อเเบบนี้ส่วนมากโมเด็มที่ใช้ จะเป็น ADSL Router เเบบFix IP   ทางฝั่งผู้ไห้บริการจะเเบ่งหมายเลข IP Address (IP จริง) ไห้มาส่วนหนึ่ง โดยเราสามารถนำเอา IP Address เหล่านี้มาตั้งเซิฟเวอร์ๆได้ โดยหากคิดจะติดตั้งเซิฟเวอร์ เเละใช้งานผ่านสื่อ ADSL คุณจะต้อง ติดตั้ง Firewall  เพราะADSL มีข้อเสียอยู่ที่ไม่มีระบบ Security โดยระบบนี้คนนิยมใช้งานกันมากขึ้นเรื่อยๆ

การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดใหญ่โดยการใช้ Router



เป็นระบบที่มีความสลับซับซ้อน แต่ละบริษัทจะมีการออกแบบที่ไม่เหมือนกันโดยทั่วไประบบเครือข่ายขนาดใหญ่จะ มีการแบ่งกันอย่างชัดเจน ระหว่างห้องเซิร์ฟเวอร์ (Server Farm) และฝั่งลูกข่าย (Client) ระบบขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่จะมีสาขาย่อยตามต่างจังหวัด เชื่อมต่อมายังหน่วยงานกลาง ผ่านทาง Router   


วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2558

คำศัพท์เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (สัปดาห์ที่ 9)

1. GPRS
ย่อมาจาก General Packet Radio Services เป็นบริการด้านการสื่อสารไร้สายแบบแพคเก็ตที่ยอมให้อัตราข้อมูลจาก 56 ถึง 114 kbps และการเชื่อมต่อเนื่องกับอินเตอร์เน็ตสาหรับผู้ใช้โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค GPRS มีพื้นฐานบนการสื่อสารแบบ Global System for Mobile (GSM)

2. EDGE (เอดจ์)
ย่อมาจาก Enhance Data Rates for Global เป็นเทคโนโลยีมือถืออีกขั้นหนึ่งที่พัฒนาขึ้นจาก GPRS ใช้รับ-ส่งข้อมูลด้วยเครือข่ายไร้สายความเร็วสูง สูงกว่าระบบ GPRS ถึง 4 เท่าตัว จัดเป็นเทคโนโลยีระดับ 3 G ยุคต้น ๆ ส่วนจีพีอาร์เอสเรียกว่ายุค 2.5 G การใช้เทคโนโลยีเอดจ์นั้นจะทาให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการดาวน์โหลดวิดีโอคลิป ส่งข้อมูลมัลติมีเดีย และวิดีโอสตรีมมิ่งซึ่งอนาคต เรื่องวิดีโอ แชร์ริ่ง หรือการใช้มือถือถ่ายวิดีโอ ส่งผ่านให้เพื่อน ๆ ดูแบบเรียลไทม์ก็สามารถเกิดขึ้นได้จริง

3. เทคโนโลยี 3G
เป็นเทคโนโลยีของโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือ Third Generation of Mobile Telephone หรือ เรียกย่อว่า 3G ตามหลักเกณฑ์ของ ITU (International Telecommunication Union) หรือ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ กาหนดมาตรฐานสิ่งที่เรียกว่า เครื่องโทรคมนาคมแบบเคลื่อนที่ ซึ่งรวมถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย (อุปกรณ์โทรคมนาคมในยุคต่อไปอาจจะใช้รวมกันหลายชนิด ทั้งโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือดาวเทียม เป็นต้น) เรียกรวมกันว่ามาตรฐาน IMT-2000 (International Mobile Telecommunications-2000)

4. Computer Network
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารหมายถึง   ข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น

5. Coaxial Cable
สายโคแอ็กเชียล มีลักษณะคล้ายกับสายเคเบิลทีวี คือ มีแกนเป็นทองแดงห่อหุ้มด้วยฉนวนแล้วหุ้มด้วยตาข่ายโลหะ ชั้นนอกสุดเป็นวัสดุป้องกันสายสัญญาณ สายประเภทนี้นิยมใช้มากในเครือข่ายสมัยแรกๆ แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว เปลี่ยนเป็นการใช้สายคู่เกลียวบิดแทน

6. Twisted Pairs
ลักษณะของสายคู่บิดเกลียวแต่ละคู่จะทำด้วยสายทองแดง 2 เส้น แต่ละเส้นจะมีฉนวนหุ้ม พันกันเป็นเกลียวเพื่อป้องกันการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

7. Fiber Optic
สายใยแก้วนำแสงส่วนประกอบของใยแก้วนำแสงประกอบด้วยส่วนสำคัญคือ ส่วนที่เป็นแกน (Core) ซึ่งจะอยู่ตรงกลางหรือชั้นในแล้ว หุ้มด้วยส่วนห่อหุ้ม (Cladding) แล้วถูกหุ้มด้วยส่วนป้องกัน (Coating) อีกชั้นหนึ่ง โดยที่แต่ละส่วนนั้นทำด้วยวัสดุที่มีค่าดัชนีหักเหของแสงต่างกัน

8. Gateway
เกตเวย์ สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลใน Data link และ Network Layer ที่แตกต่างกันได้มากกว่า 2 ระบบ การทำงานของเกตเวย์ทุกระดับชั้นจะเป็นไปตามมาตรฐาน ISO/OSI Model เกตเวย์สามารถเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลจากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง หรือเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลในโปรแกรมประยุกต์ได้

9. Cellular Radio
คลื่นวิทยุลักษณะของระบบสื่อสารวิทยุ เป็นสื่อกลางการสื่อสารแบบไร้สายที่สามารถแพร่ได้บนระยะทางไกล เช่น ระหว่างเมืองหรือระหว่างประเทศ และยังไม่รวมถึงการแพร่บนระยะทางสั้นๆ

10. Microwave
คลื่นไมโครเวฟ การส่งสัญญาณข้อมูลไปกลับคลื่นไมโครเวฟเป็นการส่งสัญญาณข้อมูลแบบรับช่วงต่อๆ กันจากหอ (สถานี) ส่ง-รับสัญญาณหนึ่งไปยังอีกหอหนึ่งแต่ละหอจะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณประมาณ 30 - 50 กม.

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558

คำศัพท์เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (สัปดาห์ที่ 8)

1. ADSL Modem
หมายถึง อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ผ่านสายโทรศัพท์ สามารถใช้งานได้เครื่องเดียว

2. ADSL Router
หมายถึง อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ผ่านสายโทรศัพท์ แต่สามารถแชร์อินเตอร์เน็ตได้ทั้งในรูปแบบเชื่อมต่อผ่านสาย LAN และแบบไร้สายหรือ Wireless ปัจจุบันราคา ADSL Router แพงกว่า ADSL Modem เพียงเล็กน้อยเท่านั้้น

3. Coaxial Cable
สายสัญญาณที่มีลักษณะคล้ายสายเคเบิลทีวี มีแกนกลางเป็นทองแดง ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมสายประเภทนี้แล้ว

4. DHCP (Dynamic Host Configuration Protocal) Server
หมายถึง เครื่อง Server ที่ให้บริการจากหมายเลขไอพี หรือ IP Address แบบอัตโนมัติให้กับคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่าน TCP/IP ส่วนใหญ่จะพบได้กับการใช้งานอุปกรณ์ AP (Access Point)

5. Fibre Optic
สายสัญญาณที่เป็นชนิดเส้นใยแก้วนำแสง คือใช้แสงเป็นตัวสัญญาณ และใส่แก้วเป็นสื่อในการส่งสัญญาณ ถือได้ว่า เป็นสายสัญญาณที่ดีที่สุด ส่งสัญญาณได้ไกลมาก และสามารถส่งสัญญาณด้วยความเร็วสูงมาก

6. Firewall
หมายถึง ระบบที่ใช้สำหรับการป้องกันผู้บุกรุกผ่านทางเครือข่ายเน็ตเวิร์ค  Firewall สามารถเป็นได้ทั้งซอร์ฟแวร์ และฮาร์ดแวร์

7. Infrared
การสื่อสารระยะสั้น หรือระยะใกล้ๆ  การสื่อสารจะใช้ลักษณะการยิงสัญาณโดยตรงถึงกัน ตัวอย่างอุปกรณ์ที่นิยมใช้คือ Remote Control

8. Mac Address
หมายถึง หมายเลขประจำตัวของอุปกรณ์ทางด้านเน็ตเวิร์ค โดยหมายเลขนี้จะไม่มีวันซ้ำกันโดยเด็ดขาด ตัวอย่าง หมายเลข Mac Address มีดังนี้ 00-1B-FC-66-CF-09 เป็นต้น

9. NIC (Network Interface Card)
หมายถึง การ์ดที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อระบบเครือข่าย

10. Star Topology (การเชื่อมต่อแบบดาว)
เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป

วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

คำศัพท์เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (สัปดาห์ที่ 7)

1. NOS (Network Operation System)
ซอร์ฟแวร์ที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการระบบเครือข่าย

2. Repeater
อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อสายเน็ตเวิร์ค 2 เส้นเข้าด้วย เพื่อใช้สำหรับเพิ่มระยะทางในการส่งข้อมูลให้มากขึ้น

3. SSID (Service Set Identifier)
หมายถึง การตั้งชื่อให้กับอุปกรณ์ไร้สายมาตราฐาน 802.11 เพือ่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อ พูดง่ายๆ ส่วนใหญ่ใช้สำหรับการตั้งชื่อของ AP (Access Point) ของเรานั่นเอง

4. Switch
อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายให้ถึงกัน แต่ละพอร์ต สามารถบริหารจัดการการสั่งข้อมูลได้

5. UTP (Unshield Twisted Pair)
สายคู่บิดเกลียว ภายในมีสายทองแดง นิยมใช้ในการเชื่อมต่อบนระบบเครือข่าย

6. VPN (VIRTUAL PRIVATE NETWORK)
หมายถึง ระบบที่ใช้สำหรับการเน็ตเวิร์คแบบส่วนตัว หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ เป็นการสร้างท่อในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบ เน็ตเวิร์คแบบไร้สาย การใช้งานจะต้องใช้โปรแกรมในการสร้าง VPN ขึ้นมา

7. WEP (Wired Equivalent Privacy) Encryption
หมายถึง มาตราฐานในการเข้ารหัสความปลอดภัย โดยเฉพาะกับการใช้งานในระบบเครือข่ายไร้สายหรือ Wi-Fi ซึ่งผลก็คือ การจะใช้งานจะต้องมีการใส่รหัสผ่านในการเข้าถึงเสียก่อน อย่างไรก็ตาม WEP Encryption นี้ ยังมีระดับความปลอดภัยไม่สูงมากนัก และไม่แนะนำให้ใช้

8. Wi-Fi (Wireless Fidelity)
หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานร่วมกับระบบเครือข่ายไร้สาย ซึ่งอยู่บนมาตราฐาน IEEE 802.11 ปัจจุบัน เราจะเห็นอุปกรณ์โมบายต่างๆ มี Wi-Fi เป็นมาตราฐาน เพื่อใช้สำหรับการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ

9. WPA (Wi-Fi Protected Access)
หมายถึง มาตราฐานในการเข้ารหัสความปลอดภัย ที่ผ่านอีกขั้นจาก WEP ในเรื่องของการเข้ารหัสและการถอดรหัส

10. WPA2
หมายถึง มาตราฐานในการเข้ารหัสความปลอดภัย ที่พัฒนาเพิ่มเติมมาจาก WPA เวอร์ชั่นแรก รองรับการเข้าถึงระดับ 192-bit และ 256-bit ซึ่งถือได้ว่าเป็นมาตราฐานในการตั้งรหัสผ่านที่ใช้กันอยู่แพร่หลายในปัจจุบัน

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

คำศัพท์เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (สัปดาห์ที่ 6)

1. Wide Area Network : WAN
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ มีการติดต่อต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกลจึงต้องอาศัยระบบบริการข่ายสายสาธารณะ เช่น การสื่อสารแห่ง ประเทศไทย ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียม ใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้ บริการแบบสาธารณะ เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกล และต้องการเชื่อมสาขา เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร มีสาขาทั่วประเทศ มีบริการรับฝากและถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม

2. Metropolitan Area Network : MAN
คือ  เครือข่ายระดับเมือง ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มักเชื่อมโยงกันเฉพาะในเขตเมืองเดียวกัน หรือหลายเขตเมืองที่อยู่ใกล้กัน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ระบบเครือข่าย MAN เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้งานให้ครอบคลุมเมืองทั้งเมือง ซึ่งอาจเป็นเครือข่ายเดียวกัน เช่น เครือข่ายเคเบิลทีวี หรืออาจเป็นการรวมเครือข่ายกันของเครือข่าย LAN หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน

3. Local Area Network : LAN
เป็นลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันภายในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เครือข่าย LAN ออกแบบมาเพื่อให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน ในส่วนต่างๆขององค์กรในบริเวณที่ไม่ไกลกันมาก เช่นอยู่ในอาคารเดียวกัน ระหว่างชั้นอาคาร สามารถดูแลได้เองโดยไม่ต้องใช้ระบบสื่อสารข้อมูลแบบอื่น

4. Satellite
คือสัญญานดาวเทียม เป็นลักษณะของการรับส่งสัญญาณข้อมูลอาจจะเป็นแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) หรือแบบแพร่สัญญาณ (Broadcast) สถานีดาวเทียม 1  ดวง สามารถมีเครื่องทบทวนสัญญาณดาวเทียมได้ถึง 25 เครื่อง และสามารถครอบคลุมพื้นที่การส่งสัญญาณได้ถึง 1 ใน 3ของพื้นผิวโลก เครื่องทบทวนสัญญาณของดาวเทียมเรียกว่า (Transponder) ไปยังสถานีปลายทาง การส่งสัญญาณข้อมูลขึ้นไปยังดาวเทียมเรียกว่า "สัญญาณอัปลิงก์" และการส่งสัญญาณข้อมูลกลับลงมายังพื้นโลกเรียกว่า "สัญญาณ ดาวน์-ลิงก์"

5. Bluetooth  
ลักษณะของบลูทูธเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ เกิดขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1998 ใช้ความถี่ในการส่งสัญญาณข้อมูล 2.5 GHz. สื่อสารได้ในระยะทางไม่เกิน 10 เมตร สื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลาย ๆ อุปกรณ์ได้

6. Infrared
ลักษณะของแสงอินฟราเรดเป็นคลื่นความถี่สั้น ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับคลื่นไมโครเวฟตรงที่การส่งสัญญาณเป็นแนวเส้นตรงในระดับสายตาเหมือนกัน คลื่นอินฟราเรดนิยมน ามาใช้งานส าหรับการสื่อสารระยะใกล้ โดยมีอุปกรณ์หลายชิ้นในปัจจุบัน เช่น รีโมตคอนโทรล คอมพิวเตอร์ และรวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เมาส์ และกล้องดิจิทัล ซึ่งจะมีพอร์ต IrDA  ที่ใช้ส าหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่สื่อสารด้วยคลื่นอินฟราเรด

7. Wireless
ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN : WLAN)  หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2  เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ ร่วมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน การรับส่งข้อมูลระหว่างกันจะผ่านอากาศ ท าให้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณ และติดตั้งใช้งานได้สะดวก ระบบเครือข่ายไร้สายใช้แม่เหล็กไฟฟ้าผ่านอากาศ เพื่อรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้อาจเป็นคลื่นวิทย (Radio)  หรืออินฟาเรด (Infrared) ก็ได้

8. Message
ข่าวสาร คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร บางครั้งเรียกว่าสารสนเทศ (Information) รูปแบบของข่าวสารมี 4 รูปแบบคือ เสียง ข้อมูล ข้อความ และภาพ เป็นต้น

9. Medium
เป็นสื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลจากต้นก าเนิดไปยังปลายทางสื่อกลางนี้อาจจะเป็น เส้นลวด สายไฟ สายเคเบิล หรือสายไฟเบอร์ออปติก เป็นต้น หรืออาจจะเป็นคลื่นที่ส่งผ่านในอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น

10. Baseband
เป็นการใช้ช่องทางการสื่อสารเพียงช่องทางเดียวสำหรับการส่งสัญญาณดิจิทัลในแต่ละครั้งในช่วงเวลาหนึ่ง โดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักใช้การส่งสัญญาณชนิดนี้ เนื่องจากเป็นวิธีการที่ไม่ซับซ้อนและสามารถจัดการควบคุมง่าย

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คำศัพท์เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (สัปดาห์ที่ 5)

1. Unicast : การสื่อสารแบบ 1 : หมายถึง เป็นการสื่อสารระหว่างผู้ส่งรายเดียวกับผู้รับรายเดียวบนเครือข่าย คำนี้แตกต่างจาก multicast ซึ่งเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ส่งรายเดียว กับผู้รับหลายราย และ anycast ซึ่งเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ส่งหลายราย กับกลุ่มของผู้รับที่ใกล้ที่สุดในเครือข่าย (one computer talks directly to another computer)

2. Broadcast : การสื่อสารแบบ 1 : M หมายถึง เป็นการส่งแบบ One-to-Many คือ ผู้ส่งทำการส่ง 1 packet ออกไปยัง Broadcast Address พอ packet มาถึงสวิตช์ สวิตช์จะทำการสำเนาข้อมูลแล้วส่งออกทุกพอร์ตที่เหลือไปให้ทุกคนในเครือข่าย (one computer talks to all computers)

3. Multicast : การสื่อสารแบบ 1 : M หมายถึง การส่งแบบ One-to-Many เช่นกัน แต่ Many ของ Multicast จะต่างจาก Broadcast เพราะจะไม่ส่งไปทุกพอร์ตหาทุกคน แต่จะส่งไปหาเฉพาะคนที่เป็นสมาชิกใน Multicast Group เท่านั้น (one computer talks to a selected group of others)

4. Physical Layer หมายถึง เป็นชั้นล่างที่สุดของการติดต่อสื่อสาร แต่เป็นชั้นแรกของสื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ทำหน้าที่ส่ง-รับข้อมูลจริง ๆ จากช่องทางการสื่อสาร (สื่อกลาง) ระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ มาตรฐานสำหรับเลเยอร์ชั้นนี้จะกำหนดว่าแต่ละคอนเนคเตอร์ (Connector) เช่น RS-232-C มีกี่พิน(pin) แต่ละพินทำหน้า ที่อะไรบ้าง ใช้สัญญาณไฟกี่โวลต์ เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่างๆ ก็จะถูกกำหนดอยู่ในเลเยอร์ชั้นนี้ ซึ่งอาจจะเป็นทั้งแบบที่ใช้สายหรือไม่ใช้สาย ตัวอย่างของสื่อที่ใช้ได้แก่ Shield Twisted Pair (STP), Unshield Twisted Pair (UTP), Fibre Optic และอื่นๆ

5. Data Link Layer หมายถึง เป็นเสมือนผู้ตรวจสอบ หรือควบคุมความผิดพลาดในข้อมูลโดยจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็กเกจหรือเฟรม ถ้าผู้รับได้รับข้อมูลถูกต้องก็จะส่งสัญญาณยืนยันกลับมาว่า ได้รับ ข้อมูลแล้ว เรียกว่า สัญญาณ ACK (Acknowledge) ให้กับผู้ส่ง แต่ถ้าผู้ส่งไม่ได้รับสัญญาณ ACK หรือได้รับ สัญญาณ NAK (Negative Acknowledge) กลับมา ผู้ส่งก็อาจจะทำการส่งข้อมุลไปให้ใหม่ อีกหน้าที่หนึ่ง ของเลเยอร์ชั้นนี้คือป้องกันไม่ให้เครื่องส่งทำการส่งข้อมูลเร็วจนเกินขีดความสามารถของเครืองผู้รับจะรับข้อมูลได้

6. Network Layer  หมายถึง เป็นชั้นที่ออกแบบหรือกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่จะส่ง-รับในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง ซึ่งแน่นอนว่าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารจะ ต้องมีเส้นทางการส่ง-รับข้อมูลมากกว่า 1 เส้นทาง ดังนั้นเลเยอร์ชั้น Network นี้จะทำหน้าที่เลือกเส้นทางที่ ใช้เวลาในการสื่อสารน้อยที่สุด และระยะทางสั้นที่สุดด้วย ข่าวสารที่รับมาจากเลเยอร์ชั้นที่ 4 จะถูกแบ่งออกเป็น แพ็กเกจ ๆ ในชั้นนี้

7. Transportation Layer  หมายถึง ทำหน้าที่ดูแลจัดการเรื่องของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ซึ่งการตรวจสอบความผิดพลาดนั้นจะพิจารณาจากข้อมูลส่วนที่เรียกว่า checksum และอาจมีการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นๆ โดยพิจารณาจาก ฝั่งต้นทางกับฝั่งปลายทาง (End-to-end) โดยหลักๆแล้วชั้นนี้จะอาศัยการพิจารณาจาก พอร์ต (Port) ของเครื่องต้นทางและปลายทาง

8. Session Layer หมายถึง ทำหน้าที่ในการจัดการกับเซสชั่นของโปรแกรม ชั้นนี้เองที่ทำให้ในหนึ่งโปรแกรมยกตัวอย่างเช่น โปรแกรมค้นดูเว็บ (Web browser) สามารถทำงานติดต่ออินเทอร์เน็ตได้พร้อมๆกันหลายหน้าต่าง

9. Presentation Layer หมายถึง ทำหน้าที่เหมือนบรรณารักษ์ กล่าวคือคอยรวบรวมข้อความ (Text) และแปลงรหัส หรือแปลงรูปแบบของข้อมูลให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน เพื่อช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิด ขึ้นกันผุ้ใช้งานในระบบ

10. Application Layer  หมายถึง เป็นชั้นที่อยู่ใกล้ผู้ใช้มากที่สุดโดยเป็นชั้นแอปพลิเคชันของ OSI มีปฏิสัมพันธ์กันโดยตรงกับผู้ใช้ด้วยซอร์ฟแวร์แอปพลิเคชัน ฟังก์ชันของชั้นนี้จะรวมถึงการระบุคู่ค้าการสื่อสาร โดยพิจารณาตัวตนและความพร้อมของคู่ค้าสำหรับการประยุกต์ใช้กับข้อมูลที่จะส่ง เมื่อพิจาณาถึงความพร้อมของทรัพยากร, แอปพลิเคชันเลเยอร์จะต้องตัดสินใจว่ามีเครื่อข่ายเพียงพอหรือมีเครือข่ายที่ได้ร้องขอไปอยู่แล้วหรือไม่ ในการสื่อสารให้ตรงกันทุกการสื่อสารระหว่างแอปพลิเคชันทั้งหมดต้องการความร่วมมือที่จะถูกบริหารจัดการโดยแอปพลิเคชันเลเยอร์นี้