1. Unicast : การสื่อสารแบบ 1 : หมายถึง เป็นการสื่อสารระหว่างผู้ส่งรายเดียวกับผู้รับรายเดียวบนเครือข่าย
คำนี้แตกต่างจาก multicast ซึ่งเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ส่งรายเดียว
กับผู้รับหลายราย และ anycast ซึ่งเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ส่งหลายราย
กับกลุ่มของผู้รับที่ใกล้ที่สุดในเครือข่าย (one computer talks
directly to another computer)
2. Broadcast : การสื่อสารแบบ 1 : M หมายถึง เป็นการส่งแบบ One-to-Many คือ ผู้ส่งทำการส่ง 1 packet ออกไปยัง Broadcast
Address พอ packet มาถึงสวิตช์ สวิตช์จะทำการสำเนาข้อมูลแล้วส่งออกทุกพอร์ตที่เหลือไปให้ทุกคนในเครือข่าย
(one computer talks to all computers)
3. Multicast : การสื่อสารแบบ 1 : M หมายถึง การส่งแบบ One-to-Many เช่นกัน แต่ Many ของ Multicast
จะต่างจาก
Broadcast เพราะจะไม่ส่งไปทุกพอร์ตหาทุกคน แต่จะส่งไปหาเฉพาะคนที่เป็นสมาชิกใน Multicast
Group เท่านั้น (one computer talks to a selected group of others)
4. Physical Layer หมายถึง เป็นชั้นล่างที่สุดของการติดต่อสื่อสาร
แต่เป็นชั้นแรกของสื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ทำหน้าที่ส่ง-รับข้อมูลจริง ๆ
จากช่องทางการสื่อสาร (สื่อกลาง)
ระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ
มาตรฐานสำหรับเลเยอร์ชั้นนี้จะกำหนดว่าแต่ละคอนเนคเตอร์ (Connector) เช่น RS-232-C
มีกี่พิน(pin)
แต่ละพินทำหน้า
ที่อะไรบ้าง ใช้สัญญาณไฟกี่โวลต์ เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่างๆ
ก็จะถูกกำหนดอยู่ในเลเยอร์ชั้นนี้ ซึ่งอาจจะเป็นทั้งแบบที่ใช้สายหรือไม่ใช้สาย
ตัวอย่างของสื่อที่ใช้ได้แก่ Shield Twisted Pair (STP), Unshield Twisted
Pair (UTP), Fibre Optic และอื่นๆ
5. Data Link Layer หมายถึง เป็นเสมือนผู้ตรวจสอบ
หรือควบคุมความผิดพลาดในข้อมูลโดยจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็กเกจหรือเฟรม
ถ้าผู้รับได้รับข้อมูลถูกต้องก็จะส่งสัญญาณยืนยันกลับมาว่า ได้รับ ข้อมูลแล้ว
เรียกว่า สัญญาณ ACK (Acknowledge) ให้กับผู้ส่ง แต่ถ้าผู้ส่งไม่ได้รับสัญญาณ ACK
หรือได้รับ
สัญญาณ NAK (Negative Acknowledge) กลับมา ผู้ส่งก็อาจจะทำการส่งข้อมุลไปให้ใหม่
อีกหน้าที่หนึ่ง ของเลเยอร์ชั้นนี้คือป้องกันไม่ให้เครื่องส่งทำการส่งข้อมูลเร็วจนเกินขีดความสามารถของเครืองผู้รับจะรับข้อมูลได้
6. Network Layer หมายถึง เป็นชั้นที่ออกแบบหรือกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่จะส่ง-รับในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง
ซึ่งแน่นอนว่าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารจะ
ต้องมีเส้นทางการส่ง-รับข้อมูลมากกว่า 1 เส้นทาง ดังนั้นเลเยอร์ชั้น Network นี้จะทำหน้าที่เลือกเส้นทางที่
ใช้เวลาในการสื่อสารน้อยที่สุด และระยะทางสั้นที่สุดด้วย
ข่าวสารที่รับมาจากเลเยอร์ชั้นที่ 4 จะถูกแบ่งออกเป็น แพ็กเกจ ๆ ในชั้นนี้
7. Transportation Layer หมายถึง ทำหน้าที่ดูแลจัดการเรื่องของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร
ซึ่งการตรวจสอบความผิดพลาดนั้นจะพิจารณาจากข้อมูลส่วนที่เรียกว่า checksum และอาจมีการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นๆ
โดยพิจารณาจาก ฝั่งต้นทางกับฝั่งปลายทาง (End-to-end) โดยหลักๆแล้วชั้นนี้จะอาศัยการพิจารณาจาก
พอร์ต (Port) ของเครื่องต้นทางและปลายทาง
8. Session Layer หมายถึง ทำหน้าที่ในการจัดการกับเซสชั่นของโปรแกรม
ชั้นนี้เองที่ทำให้ในหนึ่งโปรแกรมยกตัวอย่างเช่น โปรแกรมค้นดูเว็บ (Web
browser) สามารถทำงานติดต่ออินเทอร์เน็ตได้พร้อมๆกันหลายหน้าต่าง
9. Presentation Layer หมายถึง ทำหน้าที่เหมือนบรรณารักษ์
กล่าวคือคอยรวบรวมข้อความ (Text) และแปลงรหัส
หรือแปลงรูปแบบของข้อมูลให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน เพื่อช่วยลดปัญหาต่าง ๆ
ที่อาจจะเกิด ขึ้นกันผุ้ใช้งานในระบบ
10. Application Layer หมายถึง เป็นชั้นที่อยู่ใกล้ผู้ใช้มากที่สุดโดยเป็นชั้นแอปพลิเคชันของ
OSI มีปฏิสัมพันธ์กันโดยตรงกับผู้ใช้ด้วยซอร์ฟแวร์แอปพลิเคชัน
ฟังก์ชันของชั้นนี้จะรวมถึงการระบุคู่ค้าการสื่อสาร
โดยพิจารณาตัวตนและความพร้อมของคู่ค้าสำหรับการประยุกต์ใช้กับข้อมูลที่จะส่ง
เมื่อพิจาณาถึงความพร้อมของทรัพยากร, แอปพลิเคชันเลเยอร์จะต้องตัดสินใจว่ามีเครื่อข่ายเพียงพอหรือมีเครือข่ายที่ได้ร้องขอไปอยู่แล้วหรือไม่
ในการสื่อสารให้ตรงกันทุกการสื่อสารระหว่างแอปพลิเคชันทั้งหมดต้องการความร่วมมือที่จะถูกบริหารจัดการโดยแอปพลิเคชันเลเยอร์นี้